อะไรๆ ก็ HAARP?

ในกระแสของข้อมูลทางอินเตอร์เน็ทในปัจจุบัน การหยิบข้อมูลตรงโน้นนิด ตรงนี้หน่อยมาปั่นกระแสหรือสร้างข้อมูลใหม่สามารถทำได้โดยง่าย โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ผู้ที่นำข้อมูลเหล่านั้นมาผสมปนเปกันมักไม่มีพื้นฐานข้อมูลเดิมอยู่เลย เพียงแต่อาศัยคำนำหน้าชื่อหรือเกียรติบัตรที่เคยได้รับมาในแขนงอื่น มาสนับสนุนความน่าเชื่อถือของตนเอง

(ขออภัยที่ไม่ได้ลงที่มาเอกสารอ้างอิงทั้งหมด เพราะเยอะมากๆผมเลยใช้วิธีลิงค์กลับไปที่บทความต้นฉบับซึ่งผู้ที่สนใจสามารถกดตามลิงค์ที่ขีดเส้นใต้สีน้ำเงินไปได้เลยครับ)

วันนี้ขอมาคุยเรื่อง HAARP (High Frequency Active Aurora Research Program) ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันมากว่าเป็นต้นเหตุของสารพัดภัยพิบัติทางธรรมชาติตั้งแต่ฝนตกหนัก น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด การจลาจล การควบคุมจิตใจมวลชน บลาๆๆๆๆ..

ผมขออนุญาตยกข้อความที่อ้างอิงเกี่ยวกับ HAARP จากเวปในภาษาไทยเวปหนึ่งมานะครับ (http://www.oknation.net/blog/nidnhoi/2011/10/10/entry-5) ซึ่งเวปนี้ได้อ้างข้อมูลของ Jesse Ventura อดีตผู้ว่าการรัฐมินเนสโซตา และอดีตนักมวยปล้ำ http://en.wikipedia.org/wiki/Jesse_Ventura ซึ่งสามารถเข้าไปอ่านประวัติได้ในลิงค์ wikipedia ซึ่งจากประวัติการศึกษาพบว่าเขาจบม.6 ก่อนที่จะเข้าเป็นนาวิกโยธินในสงครามเวียตนาม และออกมาประกอบอาชีพนักมวยปล้ำ

ขออนุญาตยกตัวอย่างบทความมาบางส่วนนะครับ

อ่านเพิ่มเติม

สึนามิที่สูงที่สุดในโลก

ข้อมูลจาก geology.com และ wikipedia

หลายคนเคยตั้งคำถามเกี่ยวกับสึนามิว่า สามารถเกิดได้สูงสุดแค่ไหน และในประวัติศาสตร์โลกเคยบันทึกความสูงของสึนามิมากที่สุดระดับใด เราลองมาหาคำตอบกันครับ

สึนามิที่มีความสูงมากที่สุดในโลกที่เคยมีการบันทึกไว้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 1958 ที่อ่าว Lituya รัฐ Alaska ของสหรัฐอเมริกา

ตำแหน่งของอ่าว Lituya และระดับความรุนแรงถึง XI Mercalli scale หรือขนาด 7.7 ริกเตอร์

ได้มีการบันทึกความสูงของคลื่นสึนามิครั้งนี้ว่าสูงถึง 1,720 ฟุต หรือ 524 ม. ซึ่งวัดจากระดับของต้นไม้ที่ถูกทำลายตามแนวขอบของอ่าว Lituya สาเหตุของสึนามิครั้งนี้เกิดจากหินบริเวณสุดอ่าวมีการถล่มหลังจากเกิดแผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อน Fairweather

จากภาพจะเห็นลักษณะทางภูมิประเทศของอ่าว Lituya และเห็นแนวพท.สีแดงทางมุมขวาบนซึ่งเกิดหินถล่มลงอ่าวและเกิดสึนามิตามมาในแนวจากขวาไปทางซ้าย เส้นสีเหลืองคือแนวขอบอ่าว Lituya ซึ่งถูกคลื่นทำลาย ภูมิประเทศบริเวณนั้นเป็นภูเขาสูงขนาบทั้งสองฝั่ง

ภาพถ่ายอ่าว Lituya 1สัปดาห์หลังเกิดสึนามิ จะเห็นด้านในของอ่าวยังมีรอยจากหินถล่มและแนวสีเทาอ่อนซึ่งเป็นแนวกวาดของสึนามิออกมา

ภาพถ่ายด้านข้างอีกภาพแสดงแนวทำลายของสึนามิตามแนวของอ่าว Lituya

อย่างไรก็ตามสึนามิที่เกิดถือว่าเป็นสึนามิเฉพาะที่ซึ่งเกิดจากลักษณะภูมิประเทศที่เสี่ยงอยู่แล้ว ไม่ได้มีผลกระทบในบริเวณกว้างเหมือนที่เกิดจากแผ่นดินไหวกลางมหาสมุทรหรือภูเขาไฟหรือหินถล่มกลางมหาสมุทร แต่ก็มีเรือที่จอดอยู่ในอ่าว 3 ลำเสียหายและมีผู้สูญหาย 2 คน ซึ่งโมเดลอ่าว Lituya จะถูกนำมาศึกษาเพิ่มเติมถึงโอกาสเกิดสึนามิในครั้งต่อๆไป

อย่างไรก็ตาม สึนามิที่อ่าว Lituya เป็นเพียงครั้งที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ หากเรามองย้อนกลับไปในอดีต โลกเราเคยเผชิญหลายเหตุการณ์ที่เคยสร้างสึนามิที่ใหญ่กว่านี้หลายเท่ามาแล้ว ซึ่งมีการบัญญัติคำว่า megatsunami หรือ iminami (斎波?, “purification wave” ในภาษาญี่ปุ่น ดังเหตุการณ์ต่อไปนี้

* 65 ล้านปีก่อน เกิดอุกาบาตพุ่งชนโลกที่คาบสมุทรยูคาตันในประเทศเมกซิโกปัจจุบัน ก่อให้เกิด Megatsunami สูงถึง 3 กม. ซึ่งสามารถจมเกาะมาดากาสการ์ได้มีการเปรียบเทียบความรุนแรงว่าสูงถึงแผ่นดินไหวขนาด 12 ริกเตอร์

*เมื่อ 35 ล้านปีก่อนที่อ่าว Chesapeake มีอุกาบาตพุ่งชนและเกิด megatsunami ตามมา

*ท่ี Seton portage บริติชโคลัมเบีย แคนาดา เกิด megatsunami น้ำจืดซึ่งเกิดจากการถล่มของแนวเขา Cayoosh และเกิดเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ตามมา

*ประมาณ 8,000 ปีก่อน เกิดดินถล่มจากการระเบิดของภูเขาไฟ Etna ในอิตาลีก่อให้เกิด megatsunami ไปทั่วทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทั้งสามฝั่งทวีป

*เมื่อ 7,000 เกิดดินถล่มที่เรียกว่า Storegga slide ที่สแกนดิเนเวีย ส่งผลให้เกิด megatsunami ในแถบทะเลเหนือและทะเลนอร์วีเจียน

* ประมาณ6,000 ปีก่อน เกิดดินถล่มที่เกาะ Reunion ทางตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ อาจเกิด megatsunami ตามมาได้

*นอกจากนี้ในแถบหมู่เกาะฮาวายยังเคยเกิดการระเบิดของภูเขาไฟหลายครั้งในช่วงหลายล้านปีที่ผ่านมาและเกิดการถล่มของเกาะหลังจากการระเบิดซึ่งอาจก่อให้เกิด megatsunami หลายครั้ง

พื้นที่ในอนาคตที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด megatsunami

รัฐบริติชโคลัมเบียในแคนาดา นักธรณีพบความไม่เสถียรที่ผิวหน้าภูเขา Breakenridge ทางปลายด้านเหนือของ fjord ในทะเลสาบ Harrison ซึ่งหากถล่มลงมาอาจเกิด megatsunami น้ำจืดเมือง Harrison Hot Spring ได้

เกาะ Canary ในมหาสมุทรแอตแลนติคนอกชายฝั่งสเปน นักธรณีวิทยาคาดการณ์ว่าอาจจะเกิดการระเบิดของภูเขาไฟ Cumbre Vieja บนเกาะ La Palma จากการประเมินมวลของภูเขาไฟเบื้องต้นคาดว่าหากเกิดการระเบิดใหญ่และตัวเกาะถล่มลงมหาสมุทรแอตแลนติคอาจเกิดสึนามิที่จุดถล่มได้สูงถึง 1กม. หรือเกิดสึนามิสูงถึง 50ม.เมื่อพัดเข้าสู่ทะเลแคริบเบียนและชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐฯ

หมู่เกาะฮาวาย จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าหมู่เกาะฮาวายเต็มไปด้วยภูเขาไฟที่ยังมีการประทุอยู่เรื่อยๆ มีการคาดการณ์ว่าหากเกิดการระเบิดของภูเขาไฟ Kilauea และ Mauna Loa จนเกิดการถล่มของภูเขาไฟลงมา อาจเกิดสึนามิที่สูงถึง 1 กม.ได้เช่นกัน

หมู่เกาะ Cape Verde บริเวณเชิงผาด้านข้างของภูเขาไฟหลายแห่งสามารถเกิดแผ่นดินถล่มลงทะเลและเกิด megatsunami ตามมาได้เช่นกัน

ม.คอร์เนลล์พยากรณ์ ฤดูหนาวปีนี้มาแรง

ขอบคุณข้อมูลจาก http://phys.org/news/2012-06-arctic-ice-stage-cold-weather.html

จากปรากฏการณ์น้ำแข็งที่ขั้วโลกเหนือละลายเร็วกว่าปกติ และมีปริมาณน้ำแข็งที่ผิวน้ำเหลือน้อยกว่าปกติ ทำให้นักวิทยาศาสตร์จากม.คอร์เนลล์พยากรณ์ฤดูหนาวปีนี้ไว้น่าสนใจทีเดียวครับ

ศจ. Charles H. Greene และ ดร. Bruce C. monger จากภาควิชาวิทยาศาสตร์ปฐพีและบรรยากาศ ม.คอร์เนลล์ ได้กล่าวถึงผลของการเปลี่ยนแปลงน้ำแข็งขั้วโลกเหนือว่า หลายคนคิดว่าการที่น้ำแข็งละลายดูเหมือนเป็นเรื่องเล้กน้อย แต่จริงๆแล้วปริมาณน้ำแข็งที่ลดลงทำให้ท้องทะเลเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำเงินเข้มของน้ำ และมีการสะท้อนแสงอาทิตย์กลับสู่ชั้นบรรยากาศลดลง ผลที่ตามมาคือทำให้ท้องทะเลดูดซึมความร้อนจากแสงอาทิตย์ไว้มากขึ้น และระบายความร้อนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ โดยเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ทำให้ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิในเขตขั้วโลกเหนือกับเขตอบอุ่นน้อยลง เป็นผลให้ลมขั้วโลก AO (Arctic oscillation) มีความแรงลดลงหรือเป็นลบ ส่งผลให้กระแสลมในช่วงฤดูหนาวพัดเข้าสู่สหรัฐฯฝั่งตะวันออกและยุโรปมากขึ้นเหมือนช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2555 ที่ผ่านมา

จากภาพจะเห็นทิศทางของลม AO เมื่ออ่อนตัวลง(ลูกศรสีเหลือง) ในขณะที่ความกดอากาศบริเวณขั้วโลกสูงขึ้น และกระแส Jet stream ซึ่งพาความร้อนและความชื้นจากมหาสมุทรแปซิฟิคสู่ทวีปอเมริกาเหนือ(ลูกศรสีดำ) เลื่อนต่ำลงมา

ศจ.Greene กล่าวว่า ผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศของขั้วโลกเหนือส่งผลให้เกิดการแปรปรวนของลม AO อย่างรุนแรง โดยเฉพาะรายงานอากาศเย็นจัดทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐและยุโรปในช่วงสองปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันอย่างมากของระบบภูมิอากาศของโลก ในขณะที่ปรากฏการณ์เอล ณิญโญ่และลาณิญญ่า ก็มีส่วนต่อบางภูมิประเทศเช่นกัน โดยในปีนี้ ศจ. Greene เชื่อว่า ความรุนแรงของปรากฏการณ์ ลาณิญญ่าในมหาสมุทรแปซิฟิกจะส่งผลให้เกิดอากาศอบอุ่นในบางส่วนของสหรัฐฯฝั่งตะวันออกด้วยเช่นเดียวกัน

จารึกวันสิ้นโลกของชาวเกาะอีสเตอร์

ข้อมูลที่นำเสนอมาจากงานค้นคว้าของดร. Robert M. Schoch http://www.robertschoch.com/ และเวปไซด์ Wikipedia.org สามารถอุดหนุนงานของ ดร. Schoch ได้ที่ 

ก่อนอื่นขออนุญาตเล่าที่มาของจารึกRongorongo ก่อนนะครับ จารึกฉบับนี้ถูกค้นพบที่เกาะอีสเตอร์ ซึ่งอยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อศตวรรษที่ 19 ในช่วงแรกไม่มีใครสามารถแปลจารึกฉบับนี้ได้ เพราะเป็นรูปแบบของอักขระ proto-writing

จารึก Rongorongo เป็นจารึกที่สลักลงบนแผ่นไม้กว่า 20 แผ่นและเสียหายไปบางส่วน ปัจจุบันถูกเก็บรักษาตามห้องสมุดต่างๆยกเว้นที่เกาะอีสเตอร์ และมีรูปร่างแปลกๆเป็นภาพเหมือนคน สัตว์ต่างๆในอิริยาบทต่างๆกัน ซึ่งจะนำมาให้ดูต่อไป

ภาพระยะใกล้ของจารึก Santiago

ภาพที่พยายามมีการตีความจากจารึกบางส่วน

งานศึกษาของ Pozdniakov ในปี 2007 มีการรวบรวมตัวอักษรจากจารึก Rongorongo ไว้เป็นหมวดหมู่ดังนี้

ปัญหาของการตีความจารึกนี้เกิดจากการที่ภาษา Rongorongo ถูกคิดขึ้นที่เกาะอีสเตอร์เพียงที่เดียว ไม่มีรากฐานที่เชื่อมโยงกับภาาาอื่นๆ และจารึกที่สลักลงบนไม้ทำให้เสียหายได้ง่าย นอกจากนี้ชาว Rapanui ซึ่งเป้นชนพื้นเมืองของเกาะอีสเตอร์ถูกกลุ่มเชื้อชาติ Tahitian เข้ามาเจือปนในวัฒนธรรมมาหลายร้อยปีทำให้ผู้ที่สามารถเข้าใจภาษาเดิมไม่เหลืออยุ่เลย สำหรับการพยายามตีความจารึก Rongorongo สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ใน http://en.wikipedia.org/wiki/Decipherment_of_rongorongo

คราวนี้มาเข้าเรื่องงานค้นคว้าของดร. Schoch กันนะครับ ดร. Schoch ได้เดินทางไปทำการวิจัยที่เกาะอีสเตอร์เมื่อปี 2010 หลังจากที่ได้ศึกษารูปแบบของจารึก Rongorongo ที่เหลืออยู่ เทียบกับงานวิจัยของ ดร. Peratt ซึ่งศึกษารูปแบบของ Plasma ในชั้นบรรยากาศโลกแล้ว ก็พบความคล้ายคลึงกันอย่างมาก ดังภาพ

ทางซ้ายมือของภาพเป็นแบบจำลองพลาสมาในชั้นบรรยากาศด้วยคอมพิวเตอร์ ภาพตรงกลางเป็นภาพสลักตามผนังถ้ำซึ่งคณะของดร.Peratt ได้รวบรวมมาจากทั่วโลก ภาพด้านขวาเป็นรูปอักขระโบราณ Rongorongo จากเกาะอีสเตอร์

สิ่งที่ดร. Schoch สงสัยคือความเหมือนกันของักขระโบราณและภาพสลักผนังถ้ำทั่วโลก ซึ่งหากดูภาพรวมแล้วน่าจะบ่งบอกถึงเหตุการณ์อะไรบางอย่างซึ่งเคยเกิดขึ้นนระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งเมื่อยึดตามงานวิจัยของดร.Peratt แล้ว ภาพพลาสม่าเหล่านี้ล้วนมีที่มาจากการปล่อยพลังงานขั้นมหาศาลจากดวงอาทิตย์ในช่วง 8,000 – 10,000 ปีที่ผ่านมาทั้งสิ้น (อ่านรายละเอียดงานวิจัยของดร. Peratt ได้ที่นี่ และ ที่นี่)

นอกจากนี้ดร. Schoch ยังพบความสัมพันธ์ของอักขระ Rangorango กับภาพวาดขนาดยักษ์ที่ที่ราบสูงนาซคาด้วย

ดร. Schoch ตั้งสมมติฐานว่าจารึก Rongorongo เป็นการบันทึกปรากฏการณ์บนท้องฟ้าขณะเกิดกระแสพลาสมาพลังงานสูงถูกส่งเข้าสู่โลกของเรา โดยมีรูปร่างเรียงตามลำดับ เมื่อนำมาประกอบกับตำนานพื้นเมืองของชาว Rapa Nui ที่บันทึกโดยนักสำรวจ Francis Maziere ซึ่งเล่าว่า

“ในสมัยของราชา Rokoroko He tau ท้องฟ้าได้ถล่มลง

ตกลงมาจากเบื้องบนสู่พื้นโลก

ผู้คนร่ำร้องไปทั่วว่า ท้องฟ้าล่มแล้วในสมัยราชา Rokoroko He tau

พระองค์ทรงมั่นคง รออยู่ชัวเวลาหนึ่ง ท้องฟ้าก็กลับไปยังที่ที่มันเคยอยู่”

ซึ่งเมื่อตรวจสอบกับจารึกหลายๆแผ่นของจารึก Rongorongo แล้วล้วนมีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าข้อความที่บันทึกน่าจะมาจากแหล่งเดียวกันและเล่าเรื่องราวเดียวกัน ซึ่งถ้ามีเวลาจะนำงานวิจัย Gobekli Tepe ซึ่งเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษย์ในประเทศตุรกีมาเล่าให้ฟังต่อครับ เพราะมีลักษณะและลวดลายของหลักจารึกที่คล้ายคลึงกันมาก แต่ดร. Schoch ได้สรุปว่าทั้งหมดล้วนบอกถึงภัยพิบัติที่เกิดจากพายุพลาสมาที่ลงมายังโลก ผู้คนที่ต่างหลบหนีในถ้ำ ในอาคารที่สร้างด้วยหินซ้อนๆกัน ใต้หน้าผา ก่อนที่โลกเราจะเข้าสู่ยุคมืดนานนับพันปีจนเราลืมอารยธรรมที่มีมาก่อนหน้านี้ไปจนหมด

หากสมมติฐานเป็นจริง โลกของเราได้เผชิญกับภัยพิบัติครั้งใหญ่เมื่อช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานมหาศาลจากดวงอาทิตย์ในรูปของการระเบิดใหญ่ เป็นผลทำให้เกิดการสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง และสิ้นสุดอารยธรรมยุคก่อนหน้านี้ไปแทบทั้งหมด และมนุษย์ที่เหลือรอดต่างพยายามบันทึกเหตุการณ์นี้ในหลุมหลบภัยของตนเพื่อเตือนคนรุ่นหลังถึงภัยที่อาจเกิดขึ้นได้อีก ซึ่งก่อนหน้านี้ ดร. Schoch ได้เคยตีพิมพ์ผลงานสำคัญเกี่ยวกับอารยธรรมที่ล่มสลายรวมไปถึงการปรับแก้อายุของปีรามิดที่กิซาห์และสฟิงค์ว่าน่าจะมีอายุยาวนานเกิน 8,000 ปีก่อนหน้านี้ด้วย (รอหนังสือของดร. Schoch ออกก่อนนะครับ จะพยายามรวบรวมมาเล่าต่ออีกตอนหนึ่ง)

สถานการณ์ล่าสุดเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ที่ฟุคุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://modernsurvivalblog.com/current-events-economics-politics/fukushima-building-4-is-bulging-and-leaning/

http://www.tepco.co.jp/nu/fukushima-np/images/handouts_120525_07-j.pdf

http://www.nuc.berkeley.edu/forum/218/nuclear-expert-fukushima-spent-fuel-has-85-times-more-cesium-released-chernobyl-%E2%80%94-%E2%80%9Cit-woul

http://www.naturalnews.com/035789_Fukushima_Cesium-137_Plume-Gate.html

นับตั้งแต่ 11 มีนาคม 2554 ที่เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่นเป้นต้นมาจนถึงบัดนี้ เรื่องราวของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เมืองฟุคุชิมะ ดูจะไม่จบปัญหาลงง่ายๆ เพราะการเก็บกู้แท่งปฏิกรณ์โดยเฉพาะในตึกหมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้าฯดูจะเป็นไปได้ยากทีเดียวเราลองมาดูข้อเท็จจริงของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 กันก่อน

ข้อเท็จจริงของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะ

– เตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 มีแท่งปฏิกรณ์ 1,535 แท่งซึ่งยังคงประสิทธิภาพในการแผ่รังสีระดับสูงอยู่

– ด้วยจำนวนแท่งปฏิกรณ์ขนาดนั้น สามารถแผ่รังสีได้ถึง 37 ล้านคูรี

– แท่งปฏิกรณ์ถูกเก็บในถังคอนกรีต ซึ่งอยู่สูง 100ฟุตจากพื้น บนตัวอาคารปฏิกรณ์ซึ่งส่วนของถังเปิดโล่งด้านบน

– นายโรเบิร์ต แอลวาเรซ อดีตที่ปรึกษาอาวุโสด้านความมั่นคงและสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯเคยประเมินว่า ถ้าหากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงและตัวอ่างเก็บน้ำคอนกรีตที่ปกป้องเตาปฏิกรณ์เกิดรั่วไหลออกมา จะทำให้เกิดเพลิงไหม้จากแท่งรังสีและจะมีการปล่อย Cs-137  ในปริมาณที่มากกว่าโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลที่เคยเกิดการระเบิดถึง 10 เท่า (http://www.nuc.berkeley.edu/forum/218/nuclear-expert-fukushima-spent-fuel-has-85-times-more-cesium-released-chernobyl-%E2%80%94-%E2%80%9Cit-woul)

– ณ.เวลานี้ อ่างเก็บน้ำที่บรรจุแท่งปฏิกรณ์อยู่มีสภาพชำรุด และได้รับการประเมินจากทาง TEPCO อยู่ตลอดเวลา

– นายแอลวาเรซ กล่าวว่า โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายแท่งปฏิกรณ์เหล่านี้ถูกทำลายและใช้งานไม่ได้ เช่นเดียวกับอาคารเก็บเตาปฏิกรณ์อีก 3 หลังที่อยู่ใกล้กัน และมีแท่งปฏิกรณ์อีก 6,375 แท่ง จากทั้งหมด 11,421 แท่งที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะ ซึ่งสามารถปล่อยรังสีได้ถึง 336 ล้านคูรี และเป็นส่วนของ Cs-137 134 ล้านคูรี หรือประมาณ 85 เท่าของโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ซึ่งปริมาณขนาดนี้เพียงพอที่จะทำลายสิ่งแวดล้อมของโลกเรารวมไปถึงอารยธรรมของมนุษย์ลงได้และมีผลต่อการอยู่รอดของมนษย์ (http://akiomatsumura.com/2012/04/682.html )

– บริษัทที่ออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุคุชิมะคือ เจเนอรัลอิเลคทริก ซึ่งเชื่อว่ามีผลต่อการนำเสนอข้อมูลต่อสื่อสาธารณะ

สำหรับข้อมูล update โรงไฟฟ้าฟุคุชิมะ สามารถติดตามได้ที่ http://fukushima.greenaction-japan.org/

แล้วปัจจุบัน สถานการณ์ของโรงไฟฟ้าหมายเลข 4 ถือว่าปลอดภัยแล้วยัง ?

จากเอกสารที่เปิดเผยโดย Tepco ล่าสุดซึ่งได้ทำการตรวจสอบไปเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมา (http://www.tepco.co.jp/nu/fukushima-np/images/handouts_120525_07-j.pdf) ผมขอสรุปคร่าวๆตามเอกสารก่อนนะครับ

1. จากการที่มีการกลัวกันว่า ตัวอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 จะมีการเอียงหรือทรุดตัวนั้น ทาง TEPCO ได้ทำการวัดด้วยกล้องอย่างละเอียด เพื่อประเมินระดับน้ำในถังน้ำที่เก็บแท่งปฏิกรณ์ พบว่าระดับน้ำทุกจุดยังมีความลึกเท่ากัน ซึ่งยืนยันได้ว่าตัวอาคารยังไม่มีการเอียงแต่อย่างใด

2. ผนังภายในของถังน้ำที่บรรจุแท่งปฏิกรณ์ ยังอยู่ในสภาพปกติ ได้มีการตรวจสอบความสามารถรับแรงกระแทกของผนัง สามารถทนแรงกดได้เท่าเดิม

3. สำหรับตัวผนังอาคารภายนอกนั้น จากการวัดด้วยกล้อง พบว่าผนังอาคารชั้น 3 ด้านทิศตะวันตก มีอาการโป่งเอียงออกมาจากแนวเดิมประมาณ 33 มม.

ซึ่งจากเอกสารของทาง TEPCO ยังคงยืนยันความแข็งแรงของผนังอาคารเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 อยู่ และปฏิเสธการทรุดหรือเอียงตัวของตัวอาคาร

แล้วเราต้องกังวลอะไรหละ ?

แน่นอนครับ ณ.เวลานี้ดูเหมือนไม่มีอะไรน่ากังวล แต่ช่วง 20-21 พ.ค.2555ที่ผ่านมา เริ่มมีสัญญาณเตือนจากการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กหลายครั้งใกล้กับฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น และห่างจากเมืองฟุคุชิมะเพียง 170 ไมล์ ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนของเพลทแปซิฟิคที่เริ่มมีการขยับตัวบริเวณนั้นอีกครั้งหนึ่ง

(http://modernsurvivalblog.com/earthquakes/japan-earthquake-swarm-may-be-endangering-fukushima-nuclear-reactors/)

ประกอบกับงานวิจัยด้านแผ่นดินไหวของผู้เชียวชาญด้านแผ่นดินไหวของม.โตเกียว (http://www.earth-issues.com/predicting-a-major-earthquake-to-hit-tokyo-soon/?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=predicting-a-major-earthquake-to-hit-tokyo-soon&utm_medium=referral&utm_source=pulsenews) ศจ. Shinichi Sakai พบว่าหลังจากเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ตั้งแต่ 11 มีนาคม 2554 เป็นต้นมา เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กรอบกรุงโตเกียว ซึ่งจากการคำนวณแล้ว เชื่อว่าภายใน 4 ปีข้างหน้านี้ กรุงโตเกียวมีโอกาสอาจเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ถึง 70 % เลยทีเดียว และแน่นอนไม่มีใครกล้ารับประกันได้ว่า ถังน้ำที่บรรจุแท่งปฏิกรณ์ที่เตาหมายเลข 4 จะยังปลอดภัยและไม่รั่วไหลอยู่หรือไม่ ซึ่งอาจจะหมายถึงหายนะทั้งตัวประเทศญี่ปุ่นเองรวมไปถึงประเทศใกล้เคียงและที่สำคัญที่สุด ด้านฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯและแคนาดาตั้งแต่รัฐอลาสกาเป็นต้นมาเป็นพื้นที่อันตรายไปด้วย ตามทิศทางการไหลของกระแสน้ำและลม

ในกรณีนี้ อย่าลืมติดตามข่าวไว้นะครับ โดยเฉพาะคนที่ต้องเดินทางไปมาแถบนั้นหรือคนที่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ควรเตรียมแผนฉุกเฉินไว้เสมอและเตรียมแผนอพยพออกในทันที หากเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่กรุงโตเกียว

ภาพ Infographic ของยาน Dragon โดย Space-X

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.space.com , http://rocketry.wordpress.com/ และ www.spacex.com

ยานดรากอน เป็นโครงการของ NASA ที่ให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนเพื่อสร้างยานที่สามารถบรรทุกสัมภาระหรือคนขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศระดับล่าง โดยเฉพาะที่สถานีอวกาศนานาชาติได้ เพื่อทดแทนยานกระสวยอวกาศที่เพิ่งปลดระวางไปเมื่อปีที่แล้ว และเป็นการลดต้นทุนด้านการดำเนินงานของ NASA ในการผลิตและจัดสร้างจรวดขึ้นมาใหม่และการบำรุงดูแลรักษาให้สามารถใช้งานได้

โดยในการปล่อยครั้งแรกเมื่อวานนี้ เป็นการบรรทุกเฉพาะสัมภาระไปยังสถานีอวกาศนานาชาติก่อน นอกจากนี้ยานดรากอนยังสามารถบรรทุกนักบินอวกาศขึ้นไปได้ถึง 7 คน พร้อมสัมภาระด้วย และชิ้นส่วนของยานสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เกือบทั้งหมด

จากภาพด้านล่างจะเห็นว่า ยานดรากอนสามารถขนส่งสัมภาระได้มากกว่ากระสวย Progress M1 ของรัสเซีย แต่ยังไม่เท่ากับกระสวย ATV ขององค์การบริหารอวกาศร่วมยุโรป แต่ก็สามารถลดภาระและความเสี่ยงของการมีกระสวยอวกาศไว้ใช้งานต่อไปได้

สำหรับจรวดที่ใช้ในการขนส่งยาน Dragon คือจรวด Falcon-9 ซึ่งเป็นจรวด 2 ท่อน มีความสูงใกล้เคียงกับกระสวยอวกาศแลจรวดโซยุสของรัสเซีย

สำหรับวิธีการเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ จะเป็นดังภาพ

ภาพการปล่อยจรวด Falcon-9 เมื่อ 22 พ.ค. 2555

ดาวฤกษ์ใกล้เคียงดวงอาทิตย์เราสามารถเกิดการระเบิดใหญ่ได้

ขอขอบคุณข้อมูลจากสำนักข่าว บีบีซี

จากการศึกษาโดยทีมงานศจ.ฮิโรยูกิ มาเอฮาร่าร่วมกับกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ พบว่า ดาวฤกษ์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์สามารถเกิดการระเบิดใหญ่ที่เรียกว่า Super solarflare ได้ซึ่งมีพลังสูงกว่าการระเบิดปกติที่ดวงอาทิตย์ถึง 1 ล้านเท่า

ทีมวิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลจากดาวฤกษ์กว่า 83,000 ดวงในเวลา 120 วัน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ความถี่ และขนาดพลังงานของการระเบิดในรูปแบบนี้

สรุป

  • – ดาวฤกษ์ที่ใกล้เคียงดวงอาทิตย์ของเราอาจเกิด superflare ที่มีความรุนแรงกว่า 1 ล้านเท่าของการระเบิดปกติได้
  • – นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจสาเหตุของปรากฏการณ์นี้
  • – Superflares อาจทำให้เกิดโครงสร้างทางเคมีที่เอื้ออำนวยต่อชีวิตได้

Artistic rendition of a

enlarge

ภาพจำลองการเกิด superflare บนดาวฤกษ์ที่คล้ายกับดวงอาทิตย์ โดยทีมงานศจ.ฮิโรยูกิ มาเอฮาร่าแห่งม.เกียวโต ซึ่งเชื่อว่าจะสัมพันธ์กับจุดดับขนาดใหญ่กว่าที่เราพบบนดวงอาทิตย์ของเรามากและ Superflare อาจเกิดได้ในบริเวณจุดดับนั้นๆ
Hiroyuki Maehara (Kwasan and Hida Observatories, Graduate School of Science, Kyoto University)

เบื้องต้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าดาวเคราะห์ในกลุ่ม Hot Jupiter (ดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงหรือใหญ่กว่าดาวพฤหัสฯและโคจรห่างจากดวงอาทิตย์ในระยะ 0.015-0.5 au) อาจจะเป็นส่เหตุของ Superflare นี้ โดยเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิด magnetic reconnection และเกิด superflare ตามมา

แต่ข้อมูลที่เราได้รับจากกล้องเคปเลอร์พบดาวเคราะห์ hot Jupiter เพียง 10% ในดาวฤกษ์ที่เกิด superflare นี้ ในขณะที่ทีมของศจ.ฮิโรยูกิไม่พบความสัมพันธ์นี้เลยทำให้ทฤษฎีการเกิด superflare ยังไม่เป็นที่แน่ชัด อย่างไรก็ตามศจ.ฮิโรยูกิเชื่อว่า ดาวฤกษ์ที่เกิด superflare เหล่านี้ น่าจะมีจุดดับขนาดใหญ่กว่าที่เราพบบนดวงอาทิตย์ของเรา แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุปว่าจุดดับขนาดนั้นจะเกิดกับดาวที่คล้ายดวงอาทิตย์ของเราได้อย่างไร แต่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าดวงอาทิตย์ของเราสามารถเกิด superflare ระดับนั้นได้ เพราะการรุเบิดระดับนั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมหาศาลต่อชีวิตบนโลก และเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ได้ ในขณะที่ทฤษฎีการสูญพันธุ์ในปัจจุบันยังเชื่อว่าสาเหตุน่าจะมาจากดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก หรือเกิดการเปลี่ยนแงภูมิอากาศแบบฉับพลันหรือเกิดภูเขาไฟระเบิดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามในระบบสุริยะที่เกิด superflare นั้นอาจมีวิวัฒนาการของชีวิตในรูปแบบต่างๆได้ และอาจมีสิ่งมีชีวิตที่มีความก้าวหน้ากว่าที่เราคาดคิด

อย่างไรก็ตาม ศจ.ฮิโรยูกิ ไม่เชื่อว่าดวงอาทิตย์ของเราสามารถเกิด superflare ได้ จากข้อมูลที่เราบันทึกในรอบ 2,000 ปีที่ผ่านมามีเพียง Carrington event ในปี 1859 เท่านั้นที่เกิดการระเบิดมากกว่า solar flare ธรรมดา 6.5 เท่า แต่ก็เพียง 1/1,000 ของ Superflare เท่านั้น ซึ่งดาวฤกษ์ที่จะเกิด superflare ได้จะต้องมีพลังงานการระเบิดในช่วง 1033-1036 erg ในขณะที่ดวงอาทิตย์ของเราสามารถเกิดการระเบิดสูงสุดเพียง 1032 erg ทุกๆ 450 ปีและมีโอกาสเพียง 0.2%ที่จะมีการระเบิดที่มีพลังงานสูงกว่านั้น

จากที่ได้กล่าวไว้ในบล้อคก่อนหน้านี้ การเกิด superflare จะต่างจากการเกิดโนวา ซึ่งการเกิดโนวาจะพบในระบบดาวฤกษ์คู่ (binary star) ที่มีการดึงดูดกาซไฮโดรเจนจากดาวดวงหนึ่งไปยังดาวแคระห์ขาวและกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์และการระเบิดตามมาและมีขนาดใหญ่กว่า superflare มาก ในขณะที่ superflare เรายังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไรกันแน่


Nova คืออะไร?

ขอขอบคุณข้อมูลจาก wikipedia

ภาพจำลองดาวแคระห์ขาวกำลังดูดกาซไฮโดรเจนจากดาวฤกษ์ที่อยู่ในระบบเดียวกัน

หลายๆคนคงเคยได้ยินแต่คำว่า ซูเปอร์โนวา ว่าคือการระเบิดของดาวฤกษ์ และคงมีคำถามว่า แล้วถ้าไม่ ซูเปอร์หละ มีไหมเจ้าโนวาธรรมดา คำตอบคือมีครับ คำว่าโนว่าถูกบัญญัติในความหมายว่า การระเบิดทางนิวเคลียร์อย่างรุนแรงของดาวฤกษ์ซึ่งเกิดจากการเพิ่มไฮโดรเจนที่ผิวของดาวแคระห์ขาว และนำไปสู่การจุดชนวนปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่รุนแรงขึ้นบนพื้นผิวดาวฤกษ์และเกิดการระเบิดตามมา

ปรากฏการณ์โนวานี้ เชื่อว้าเกิดในระบบดาวฤกษ์คู่ที่มีดาวแคระห์ขาว (white dwarf) เป็นหนึ่งในนั้นขณะที่ดาวฤกษ์อีกดวงอาจจะเป็นดาวในลำดับอื่นหรือดาวยักษ์แดง เมื่อวงโคจรของดาวฤกษ์ทั้งสองเข้ามาใกล้จนเกินระยะสมดุลย์ (Roche lobe) ดาวฤกษ์อีกดวงจะเริ่มสูญเสียไฮโดรเจนให้กับดาวแคระห์ขาว และทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศของดาวแคระห์ขาวสูงขึ้น เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดาวแคระห์ขาวมีมากจึงดึงดูดให้ชั้นไฮโดรเจนมาหนาแน่นที่ผิวและเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นตามมา แต่เนื่องจากการเกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นจะเกิดธาตุอื่นๆตามมาและที่ระดับชั้นบรรยากาศที่เหนือดาวแคระห์ขาวอาจทำให้ปฏิกิริยาไม่คงที่ จึงมีการปลดปล่อยกาซและมวลสารออกมาในเวลาสั้นๆซึ่งเราจะเห็นในรูปแบบของการระเบิดที่มีแสงสว่างวาบออกมาและอาจมีอุณหภูมิสูงถึง 20 ล้านเคลวินได้ โดยเราจะแบ่งรูปแบบของโนวาเป็นสองรูปแบบคือ fast nova ซึ่งจะมีความสว่างลดลง 2 แมกนิจูดใน 25 วัน และ slow nova ซึ่งใช้เวลานานกว่านั้น อาจถึง 80 วันได้
แม้จะฟังดูว่าการระเบิดของโนวาดูน่ากลัว แต่การระเบิดรูปแบบนี้จะมีการปลดปล่อยมวลสารของดาวออกมาเพียง 1 ใน 10,000 ส่วนของดาวดวงนั้นเท่านั้น และใช้กาซไฮโดรเจนที่ถูกดูดเข้าไปเพียง 5% แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดการระเบิดที่สว่งกว่าตัวดาวดวงนั้นเองถึง 50,000-100,000 เท่าได้ และกล้องเฟอร์มิยังตรวจพบการปลดปล่อยรังสีแกมม่าได้อีกด้วย

ดาวแคระห์น้อยสามารถเกิดการระเบิดแบบโนวาได้หลายครั้งตราบใดที่ยังได้รับกาซไฮโดรเจนจากดาวฤกษ์ที่คู่กัน แต่หากพลังงานที่ป้อนเข้าสู่ระบบเกินกว่า chandrasekhar limit แล้ว อาจเกิดซูเปอร์โนวาแบบ Ia ตามมาได้ ซึ่งเป็นการสลัดเปลือกนอกของดาวออกไป

จะเห็นว่า รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงของดาวฤกษืเกิดขึ้นได้หลายๆแบบ การระเบิดที่ผิวของดาวฤกษ์สามารถเกิดได้ตั้งแต่ solar flare ธรรมดา หรือรุนแรงกว่านั้นคือ massive solar flare ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป ไปจนถึงโนวา และ ซูเปอร์โนวา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนรูปแบบของดาวฤกษ์นั้นๆโดยสิ้นเชิง เราจะลองมาติดตามต่อไปว่า ถ้าเป็นดวงอาทิตย์ของเราที่อยู่ในชั้นดาวแคระห์เหลืองสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบอย่งไรได้บ้างต่อไป

โนวา Eridani 2009 (apparent magnitude ~8.4) ระหว่างพระจันทร์เต็มดวง

นักวิทยาศาสตร์พบความสัมพันธ์ระหว่างพายุไต้ฝุ่นก่อนเกิดแผ่นดินไหว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.sciencedaily.com/releases/2011/12/111208121016.htm

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยไมอามี่ นำโดย Shimon Wdowinski พบความสัมพันธ์ว่าแผ่นดินไหวในเฮติและไต้หวันในปี 2010 อาจเกิดตามหลังพายุโซนร้อนได้

Wdowski กล่าวว่า แม้แต่ฝนที่ตกหนักก็อาจเป็นสาเหตุได้เช่นเดียวกัน เพราะทั้งพายุและฝนตกหนักจะทำให้เกิดการกัดเซาะหลายๆแห่งรวมไปถึงดินถล่มหลายพันแห่ง ซึ่งจะชะล้างดินออกจากเปลือกโลกและลดแรงเครียดเหนือรอยแยกของเปลือกโลกเป็นผลให้เกิดการขยับของเปลือกโลกตามมา

จากการติดตามข้อมูลในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา ประเทศไต้หวันเผชิญกับพายุไต้ฝุ่นสามลูกคือ พายุมรกต, เฮิร์บ และๆลอสซี่ ซึ่งเกิดแผ่นดินไหวในเขตภูเขาของประเทศใต้หวันตามมาภายในระยะเวลาสี่ปี ตัวอย่างเช่น ปี 2009 พายุมรกตพัดเข้าสู่ประเทศไต้หวัน และเกิดแผ่นดินไหว 6.2 ริกเตอร์ในปี 2009 และ 6.4 ริกเตอร์ ในปี 2010 ส่วนพายุเฮิร์บพัดเข้าไต้หวันในปี 1996 และเกิดแผ่นดินไหว 6.2 ริกเตอร์ ในปี 1998 และ 7.6 ริกเตอร์ ในปี 1999 ตามมา ส่วนพายุฟลอสซี่พัดเข้าปี 1969 และเกิดแผ่นดินไหว 6.9 ริกเตอร์ตามมาในปี 1972

ส่วนแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ที่ประเทศเฮติเกิดตามหลังพายุเฮอร์ริเคนและพายุโซนร้อนสอูกพัดเข้าประเทศเฮติก่อนหน้าเพียง 25 วัน โดยรูปแบบของแผ่นดินไหวที่เกิดด้วยกลไกนี้มักเป็นแบบ inclined fault ซึ่งมีการเคลื่อนไหวตามแนวดิ่ง ซึ่ง Wdowinski กำลังศึกษาถึงแผ่นดินไหวระดับ 5 ริกเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับพายุโซนร้อนในญี่ปุ่นและฟิลิปปินส์ซึ่งเกิดพายุโซนร้อนเป็นประจำต่อไป

 

ความรัก เป็นผู้กำกับตัวฉกาจ

วันก่อน ได้มีโอกาสเจอเพื่อนเก่าตั้งแต่สมัยอนุบาล หลังจากไม่ได้เจอกันมาสามสิบปี เหมือนกับเราเปิดหนังสือที่เคยอ่านเมื่อตอนเด็กๆนะครับ ยิ่งกลับไปอ่านยิ่งรื้อฟื้นอะไรมากมาย ต่างกับภาพยนต์ที่เคยดูตอนเด็กที่บางครั้งกลับไปดูก็ไม่สนุกเหมือนเคย เราเล่าถึงเรื่องตอนอนุบาลที่ตั้งเป็นก๊กกันในห้องแล้ววิ่งเล่นกัน จริงๆหัวหน้าก๊กไม่มีหน้าที่อะไรหรอก แค่วิ่งนำเพื่อนๆที่เหลือตอนเที่ยงเท่านั้นแหละ

คุยไปคุยมาก็ถามถึงเพื่อนหญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นดาวประจำห้องที่เด็กผู้ชายในห้องสมัยนั้นต่างหมายปอง เราก็เลยเปิดดูรูปตั้งแต่สมัยนั้นกันแล้วไล่กันจนถึงปัจจุบันนี้ ระหว่างเปิดไป ผมก็นึกในใจ ทำไมถึงเจาะจงเพื่อนคนนี้เหลือเกิน แล้วความทรงจำสมัยป.1ก็เริ่มกลับมา

เพื่อนหญิงคนนี้ แทบจะเรียกว่าเป็นรักแรกของเพื่อนผมเลยก็ว่าได้ เพราะสมัยนั้นความรักระดับป.1 แทบจะเรียกว่า puppy love จริงๆ แต่ใครจะคิดว่า ความรักที่แทบจะดูเป็นเรื่องเล่นๆในสายตาผู้ใหญ่ กลับฝังรากลึกในใจจนถึงปัจจุบันนี้ เขาถามผมซ้ำๆว่าเพื่อนคนนี้แต่งงานกับใคร ทำงานอะไร มีลูกกี่คน มีความสุขไหม เหมือนกับให้แน่ใจว่าชวิตที่เธอเลือกนั้น เป็นเส้นทางที่มีคนที่ดีและรักเธอจริงๆ

กลับมาย้อนนึกดู ความรักก็แปลก เป็นผู้กำกับตัวฉกาจ บางครั้งเราถูกเลือกมาให้เล่นในบทของเรา แม้เราไม่รู้ว่าจะรับบทอะไรในเรื่องนี้ สุดท้ายแม้จะทุ่มเทเล่นแค่ไหนก็ไม่รู้ตอนจบว่าจะได้สมหวังเป็นพระเอกหรือนางเอกในเรื่องหรือเป็นแค่ตัวประกอบ แต่สิ่งหนึ่งที่เหลือไว้เสมอคือความรู้สึกผูกพันกับความรักครั้งนั้น แม้เวลาผ่านไปนานแค่ไหน ก็ยังยืนต้นอยู่ในใจเสมอ แม้ไม่ผลิดอกสวยงามเหมือนแต่เก่า แต่ก็ยังหยัดยืนท้ามรสุมชีวิตที่ผ่านเข้ามาตลอด คงเหลือแต่ต้นและใบที่แข็งแกร่ง เป็นร่มเงาให้กับความรักรุ่นต่อไปได้พักพิง

วันนี้ คุณเคยเปิดกล่องความทรงจำของคุณแล้วมารื้อดูหรือยัง